น้ำมันรำข้าว VS น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เลือกอะไรสุขภาพเลิศสุด!

น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันดีกว่ากัน เป็นคำถาม ที่ถามกันมาเยอะมาก กินน้ำมันอะไรดีต่อสุขภาพมากที่สุด เอาเข้าจริงๆแล้วไม่ว่ากินน้ำมันอะไรเยอะๆ กินซ้ำๆ ก็ใช่ว่าจะดีนะครับ เพราะน้ำมันถ้ามันเกินโค้วต้าก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน (องค์การอนามัยโลก แนะนำให้กินประมาณ 15-30 เปอร์เซ็นต่อพลังงานทั้งหมด) แล้วกินน้ำมันอะไรละทีนี้

ต้องบอกก่อนว่าน้ำมัน มี 3 แบบ หลักๆ คือ น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว/กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว/กรดไขมันไม่อิ่มเชิงซ้อน
เราลองมาดูข้อดี/ข้อเสียของไขมันทั้ง 3 แบบกัน

ไขมันอิ่มตัวเยอะ: จุดเกิดควันสูง ทอดอาหารได้กรอบ แช่เย็นเป็นไขง่าย ผลร้ายคือ คอเลสเตอรอลสูง เพิ่มระดับไขมันเลว

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว : โอเมก้า6 โอเมก้า3 ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี HDL ซึ่งดีต่อสุขภาพมากๆ

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน: จุดเกิดควันต่ำ เหมาะกับการผัดทอด ไม่เหมาะกับการใช้ทอด ทำให้เกิดควัน เสียงต่อการเป็นมะเร็ง แต่ข้อดีกินเยอะช่วยลดระดับไขมันเลวลดลง
ทราบข้อดีข้อเสียไปแล้ว ตอนนี้คงรู้แล้วสิว่าต้องกินไขมันตัวไหนดีที่สุด

อย่างที่บอกไปว่าน้ำมันแต่ประเภทมีกรดไขมันทั้ง 3 แบบ ในปริมาณสัดส่วนที่ต่างกัน ข้อนี้แหละจึงกลายเป็นที่มาว่าน้ำมันตัวไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน ฮ่าๆ
น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันทานตะวัน, น้ำมันรำข้าว, น้ำมัน, น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ
น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เหมาะสำหรับนำมาผัด หรือทำสลัด
คราวนี้เราลองมาดูระหว่างโรงงานน้ำมันรำข้าว และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ว่าตัวไหนเป๊ะสุด

ข้อมูลจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิเคราะห์ออกมา ตามสัดส่วน (ไขมันอิ่มตัว/ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว/ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน) ดังนี้

++น้ำมันรำข้าว (23/45/32) ดูจากสัดส่วนแล้วปริมาณไขมันทั้ง 3 แบบมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันมาก สามารถทำได้ทั้งทอดและผัด ยังมีสัดส่วนของโอเมก้าที่สูง แถมยังมีสารโอรีซานนอล ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL)ได้ดีอีกด้วย

++น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน (11/25/64) จากสัดส่วนพบว่า มีระดับไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูงมาก ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการทอด ได้แค่การนำมาผัดเท่านั้น หรือทำสลัด แต่ช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ได้ดีนะ